ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับการทำหมันเสียก่อน ซึ่งการทำหมันเป็นวิธีการทางการแพทย์หลายวิธีเพื่อใช้ในการคุมกำเนิด โดยมีเจตนาเพื่อไม่ให้บุคคลลนั้นทำการสืบพันธุ์ต่อไปได้ โดยวิธีการทำหมันจะมีทั้งการผ่าตัดและไม่ผ่าตัด สามารถทำได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย
ซึ่งหลายคนอาจเกิดคำถามว่าจริง ๆ แล้ว ‘การทำหมัน’ เป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักการของศาสนาหรือไม่ ทำแล้วจะถือว่าเป็นเรื่องบาปไหม วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคน

โดยเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 1962 นักนิติศาสตร์อิสลามชั้นอาวุโสคนหนึ่งได้มีการเขียนบทความเอาไว้ในนิตยสาร ‘ลิวาอุลอิสลาม’ ออก ณ กรุงไคโร ระบุไว้ว่า
“และสูเจ้าอย่าได้ฆ่าลูก ๆ ของสูเจ้า อันเนื่องจากกลัวความไร้ยาก เราเป็นผู้ให้เครื่องยังชีพแก่สูเจ้า และเขาเหล่านั้น (ลูก ๆ )” อัลอันอาม อายะฮ ที่ 151 และ “สูเจ้าอย่าฆ่าลูก ๆ ของสูเจ้า เพราะเกรงความยากไร้ เราให้เครื่องยังชีพแก่เขาเหล่านั้นและสูเจ้า” อัล-อิสรออ อายะฮที่ 31
ซึ่งจากบทความของอายะฮทั้งสองนั้น ท่านมีความเห็นตรงกันว่า “ห้ามการควบคุม หรือระงับการสืบพันธุ์ด้วยการทำหมัน หรือด้วยวิธีอื่น เพราะเกรงความยากไร้ หรือเกรงว่าจะเป็นสาเหตุแห่งความยากไร้”

แต่ในขณะเดียวกันนักปราชณ์มุสลิม ก็มีความเห็นว่า การทำหมันเป็นข้อความตามบัญญัติที่กำหนดเอาไว้ เว้นเสียว่าในกรณีที่มีความจำเป็น เช่น โรคเกี่ยวกับทางจิต ทางสติปัญญา หรือทางเพศ ที่เป็นเรื่องที่ได้รับการยืนยันจากทางแพทย์ว่าเป็นไปตามกรรมพันธุ์ ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือไม่สามารถรักษาให้หายได้
ซึ่งหากเกิดเหตุผลข้างต้นตามกฎเกณฑ์ของบัญญัติศาสนากลับมองว่าเรื่องของการทำหมันเป็นเรื่องที่ชอบด้วยเหตุผล และควรกระทำ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการระงับยับยั้งสิ่งที่จะเป็นสาเหตุให้กำเนิกลูกหลานในสภาพดังกล่าว นอกจากนี้นักนิติศาสตร์อิสลามยังเก็นว่า การทำหมันเช่นนี้เป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น และเพื่อไม่ให้ทุพพลภาพของบิดามารดาขยายไปสู่ลูก ๆ หรือคนอื่น ๆ ที่อยู่ในวงศ์วาน
ดังนั้น จึงได้ข้อสรุปว่าการทำหมันในอิสลามเป็นเรื่องถูกห้ามตามบทบัญญัติของศาสนา เว้นแต่ในบางกรณีแบบที่เราได้ยกตัวอย่างข้างต้น คือ เมื่อสองสามีภรรยาหรือหนึ่งในสองมีอาการหรือมีโรคที่รักษาไม่หาย (เช่น โรคด่าง โรคเรื้อน) ที่แพทย์ระบุว่าติดต่อทางพันธุกรรมจะสามารถทำได้โดยไม่ผิดหลักของศาสนา
ขณะเดียวกันก็ไม่ได้มีการห้ามปรามในกรณีของการที่แต่งงานกับผู้ที่เป็นเป็นหมัน ที่เป็นสภาพตามธรรมชาติ โดยที่เขามิได้ทำสิ่งให้เป็นเหตุแห่งการเป็นหมัน และทางการแพทย์ก็สามารถรักษาได้ หากชายหญิงจะมีคู่สมรสที่เป็นก็ไม่ถือเป็นเรื่องที่ต้องห้ามแต่อย่างใด
ข้อมูลจาก : มุสลิมไทยโพสต์